ประเภทของการออกกําลังกาย

ประเภทของการออกกําลังกาย

นักวิทยาศาสตร์การกีฬา ได้จําแนกรูปแบบของการออกกําลังกายออกเป็น 1.การออกกําลังกายแบบเกร็งกล้ามเนื้ออยู่กับที่ ไม่มีการเคลื่อนไหว (Isometric exercise) ซึ่งจะไม่มีการเคลื่อนที่หรือมีการเคลื่อนไหวของร่างกาย เช่น การบีบกําวัตถุ กาว” ดันเสาหรือกําแพงเหมาะกับผู้ที่ทํางานนั่งโต๊ะเป็นเวลานานจนไม่มีเวลาออกกําลังกาย แต่ไม่เหมาะกับผู้ที่เป็นโรคหัวใจ หรือเป็นโรคความดันโลหิตสูง เพราะจะมีการกลั้นลมหายใจในขณะปฏิบัติและเป็นการออกกําลังกายที่ไม่ได้ช่วยส่งเสริมสมรรถภาพทางกายได้อย่างครบถ้วนโดยเฉพาะ ด้านระบบการหายใจ(Respiratory system) และระบบการไหลเวียนโลหิต (Circulatory system) 2.การออกกําลังกายแบบทําให้กล้ามเนื้อทํางานเป็นไปอย่างสม่ําเสมอตลอดการ เคลื่อนไหว (Isokinetic exercise) เช่น การถีบจักรยานอยู่กับที่ การก้าวขึ้นลงแบบขั้นบันได (Harvard step test) หรือการใช้เครื่องมือทางชีวกลศาสตร์(เช่น Cybex, Biodex หรือ Tradmill) เหมาะกับการใช้ทดสอบสมรรถภาพทางกายของนักกีฬาหรือผู้ที่มีความสมบูรณ์ทางร่างกาย เป็นส่วนใหญ่ แต่จะต้องมีความรู้ความชํานาญในการใช้เครื่องมือเป็นอย่างดี เพราะมีโอกาสเกิด อันตรายต่อผู้ออกกําลังกายได้ง่าย 3.การออกกําลังกายแบบใช้ออกซิเจน (Aerobic exercise) จะเป็นลักษณะที่มีการหายใจเข้าและหายใจออกในระหว่างที่มีการเคลื่อนไหว เช่น การวิ่งจ๊อกกิ้ง การเดินเร็ว หรือ การว่ายน้ําซึ่งการออกกําลังแบบนี้เป็นที่นิยมกันมากในหมู่ของนักออกกําลังกายและเป็นที่ยอมรับ ของนักวิทยาศาสตร์การกีฬา ตลอดจนในวงการแพทย์เพราะการออกกําลังกายแบบนี้จะสามารถ บ่งบอกถึงสมรรถภาพทางกายของบุคคลนั้น ๆ ได้เป็นอย่างดี โดยทําการทดสอบได้จากอัตราการเต้นของหัวใจหรือความดันโลหิต 4.การออกกําลังกายแบบไม่ต้องใช้ออกซิเจน […]