ความแข็งแรงvsความฟิต (1)

ความแข็งแรงvsความฟิต (1)

มันก็ดีถ้าเราจะแข็งแรง ดีถ้าเราจะเป็นคนฟิต แต่เจ๋งมากถ้าเราเป็นทั้งสองแบบ

การออกกำลังกายส่วนใหญ่จะมุ่งเน้นไปในส่วนใดส่วนหนึ่ง ไม่ว่าจะเป็นขนาดของกล้ามเนื้อ ความแข็งแรง หรือความฟิต ไม่ค่อยมีการออกกำลังกายหน่อยที่มุ่งเน้นไปทั้งสองแบบ นั่นอาจจะเป็นเพราะว่าเมื่อเรานึกถึงคำว่า “fitness” ก็มักจะนึกในความหมายเดียว

สำหรับบางคนการยกเวทหนักคือความหมายของ fitness บางคนคือการออกกำลังกายแบบ low intensity เป็นระยะเวลานาน ที่จริงแล้วเรามีแก๊ส 4 ถัง ที่เราควรจะต้องใช้ ถ้าเราต้องการที่จะแข็งแรง เร็ว และทนทาน นั่นคือ ระบบพลังงานที่เราควรจะรู้คือ

ATP/ CP system – แรงระเบิดแรงประมาณ 6 วินาที นึกถึงการวิ่งแบบ all-out sprint หรือการยกน้ำหนักแบบหนักที่สุดครั้งเดียว 1RM นั่นคือเราใช้ระบบพลังงานแบบ ATP system

เพราะระบบพลังงานนี้จะเติมเต็มภายในระยะเวลาประมาณ 3 นาที ดังนั้นก็จะเป็นการออกกำลังกายแบบเป็นลูป ออกแบบสั้นๆ แล้วพัก 3 นาที

Glycolytic system – 20 – 40 วินาที ระบบนี้คืออันที่ทำให้กล้ามเนื้อเรารู้สึกเบิร์น ถ้าเทียบกับการวิ่งก็จะประมาณวิ่งแบบ 400 เมตร all out ซึ่งส่วนใหญ่การเทรนก็จะมากระจุกอยู่ในโซนที่เทรนแบบนี้กัน ซึ่งก็สนุกแต่บางครั้งการพัฒนาจะจำกัดแบบไม่ยุติธรรมเมื่อเทียบเท่ากับพลังงานและ effort ที่เราใส่เข้าไป

The aerobic system – นี่คือแอโรบิกที่เราพูดถึงกันบ่อยๆ ซึ่งก็จะเป็นพลังงานที่ส่วนใหญ่แล้วจะใช้ประมาณ 75 วินาทีขึ้นไป กระทั่งพวกนักวิ่งระยะสั้นประมาณ 2000 เมตร

ระบบที่ใช้คือระบบแอโรบิกสามารถมีได้ถึงประมาณ 87% (ไม่ใช่ทุกกรณี แต่ก็มากพอที่จะตกใจ เพราะเรามักจะนึกว่าเราใช้แรงระเบิดเยอะในการวิ่งสั้น) ดังนั้นในเมื่อระบบแอโรบิกสำคัญขนาดนี้

ถ้าเราต้องการฟิตเนสตลอดวัน สามารถมีแรงตลอดวัน เราควรที่จะมีระบบนี้ที่แข็งแรงคือเทรนในระบบนี้ให้มากพอ

เคยเห็นคนที่เทรนหนักประเภท 20 นาทีแต่กลับไม่สามารถที่จะเทรนแบบในโซนแอโรบิกที่ยาวเป็นชั่วโมงได้ ซึ่งน่าสนใจเพราะคนเหล่านี้คือคนที่ดูแข็งแรงยิ่งใหญ่ และน่าจะเป็นคนที่ใกล้เคียงกับคนฟิตที่สุดจากการวัดด้วยสายตา

3 ระบบผ่านไปแล้ว ระบบการเทรนสุดท้ายคือ ความอึด หรือ muscular endurance ซึ่งคนมักจะไม่สนใจเพราะบอกว่าตัวเองสามารถที่จะยกน้ำหนักได้หนัก เป็นที่น่าพอใจแล้ว

แต่การยกหนักไม่สามารถที่จะแปลเป็นการวิ่งมาราธอนได้ ดังนั้นเราจึงต้องสนใจการเทรนความอึดด้วย นั่นคือการออกกำลังกายแบบเบาลง

แต่หลายครั้ง ซึ่งบางทีก็แอบเห็นว่านักวิ่งที่เก่งหลายท่านสามารถวิ่งได้ทั้งวันหรือเป็น 100 กิโล แต่เมื่อให้ยกเวทกลับทำไม่ได้ดี ดังนั้นจึงคิดเอาเองว่าคำว่าทนทานนั้น

อยากใช้คำว่า strength endurance มากกว่า muscular endurance คือจะต้องมีความแข็งแรงก่อนที่จะมาเทรนเรื่องความทนทาน ไม่งั้นมันก็ไม่ครบสมบูรณ์ ถ้าเราจะมัวแต่ยกเบา หลาย reps เอา มันก็ไม่เวิร์ค คิดภาพนั่งยกเวทไป 2 กิโล ทั้งวัน ถามจริงๆ ได้อะไรคุ้มกับเวลาที่เสียไป

#ความฟิต #ความแข็งแรง #ออกกำลังกาย #เติมเงินขั้นต่ำ100บาท

Share this post