อันนี้คือไอเดียในการแก้ไข weak muscle ที่หลายคนยังสับสนครับต้องย้อนไปนิดนึงก่อนว่า
ถ้าเราไล่อ่านพวกงานวิจัยตีพิมพ์ออกมาเกี่ยวกับความบ่อยในการซ้อม training frequency จากmeta analysisหลายๆงาน จะเห็นได้ว่า ไม่ต่างกันไม่ว่าเราจะซ้อม 1 2 3 วัน ถ้า training volumeมันเท่ากัน
ถ้าแปลเป็นภาษาง่ายๆคือ ถ้าคุณเล่น 9เซ็ท จะเล่น9เซ็ทใน1วัน 9เซ็ทใน2วัน(วันละ4เซ็ท) 9เซ็ทใน3วัน(วันละ3เซ็ท)ผลสุดท้ายที่คาดหวังได้คือ ผลลัพที่ไม่ต่างกัน

ฉะนั้นการจะทำให้ความบ่อย(frequency)ของคุณมันได้ผลคือ คุณต้องเพิ่มvolumeด้วย เช่นจาก1วัน9เซ็ท ให้กลายเป็น 2วัน15เซ็ท แบบนี้ถึงจะคาดหวังความแตกต่างได้
ทีนี้มีความจำเป็นไหม? ถ้าวันเดียวเราก้ยังสามารถทำvolumeนั้นได้อยู่ โดยไม่จำเป็นต้องเพิ่มความบ่อยในการซ้อม ตอบว่า ก็ทั้งจำเป็น และ ไม่จำเป็นครับ
ไม่จำเป็น เพราะเรามีเทคนิคมากมายที่ทำให้การซ้อมสามารถทำvolumeได้เยอะขึ้น เทคนิคต่างๆเช่น dropaet supersetต่างก้คิดขึ้นมาเพื่อเพิ่มvolumeในการฝึกทั้งนั้น
จำเป็น เพราะถึงเราจะสามารถทำvolumeเท่าไหร่ก็ได้ใน1ครั้งที่ฝึก แต่ร่างกายก็มีขีดจำกัดในการรับvolumeและการปรับตัว และการที่volumeสูงเกิดไปอาจจะส่งผลระรานไปทั้งระบบneuro-และphysiological- ฉะนั้น การแบ่งไปซ้อมวันอื่นบ้างก็จะดีตรงนี้
สรุป Frequency ≠ Volume ถ้าจะแก้มัดด้อย แล้วกะจะใช้frequency อย่าลืมอัพvolume ถ้ามันบ่อย แต่มันน้อย ก็อย่าไปsplitมันเลย ถ้าจะบ่อย ก็ต้องเยอะขึ้นด้วย